เมืองโบราณอังวะ (Inn-Wa) เดิมชื่อว่า ”อะวะ” (AVA)

2019-10-24edit Htoo

Inn-Wa

 

การไปเที่ยวเมืองมัณฑะเลย์คราวนี้ ผมมีจุดประสงค์สำคัญ คือ จะไปเที่ยวเมืองอังวะ (InnWa) เพราะผมไม่เคยไปเที่ยวที่นั่นเลย หากจะไปที่นั่นผมต้องใช้เวลาในการเดินทางจากมัณฑะเลย์ประมาณ 20 นาที สำหรับคนที่สนใจเมืองโบราณอย่างผม ตั้งเป้าหมายไว้อย่างเด็ดเดี่ยวว่า จะไปเที่ยวและศึกษาเกี่ยวกับเมืองโบราณหรือโบราณสถานของประเทศเมียนมาให้ทั่ว และหนึ่งในนั้น ก็คือ เมืองอังวะ (Inn-Wa) ครับ ผมเป็นนักเดินทางที่กระตือรือร้นมาก เมื่อพูดถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ผมต้องการที่จะไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่รุ่งโรจน์และงดงามของเมียนมา เรามาเริ่มต้นพูดคุยเกี่ยวกับเมืองอังวะ (Inn-Wa) กันดีกว่านะครับ เมืองอังวะตั้งอยู่ที่ทิศใต้ของเขตมัณฑะเลย์ ใกล้กับจุดบรรจบกันของแม่น้ำอิรวดี Ayeyarwadi) จากทางตอนใต้ของมัณฑะเลย์ และแม่น้ำโดทะวะดี่ (Dotehtawadi) เมืองนี้สร้างขึ้นโดยตะโดมีน (Thadoe King) ในปี 1364 - 1368 เมืองอังวะเป็นเมืองหลวงเก่าของพม่า รวมแล้วประมาณ 400 กว่าปี กษัตริย์องค์สุดท้ายที่ปกครอง คือ พระเจ้าบะจีด่อ (Bagyi Taw King) ในปี 1819 - 1837 ในเมืองอังวะมีโบราณสถานหลายแห่งที่น่าสนใจ และน่าศึกษาครับ ต่อไปเรามาพูดถึงสถานที่ที่คุณควรไปเที่ยวดีกว่านะครับ

 

การเดินทาง

การเดินทางจากย่างกุ้งนั้นผมเลือกที่จะนั่งรถทัวร์ไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และต่อไปถึงเมืองอมรปุระเลยทีเดียว ผมจึงจองตั๋วรถทัวร์จาก Star Ticket - Myanmar Bus Ticket ซึ่งผมได้อธิบายไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ เมื่อไปถึงเมืองมัณฑะเลย์ สถานที่แรกที่ผมไปเที่ยวก็คือ สะพานไม้อูเบ็ง (U Bein Bridge) ผมไปที่นี่ก่อนเป็นลำดับแรก สะพานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองอมรปุระ ผมก็อยู่ชมวิวพระอาทิตย์ตกที่นั่นด้วยนะครับ วันรุ่งขึ้นผมจึงออกเดินทางสู่อังวะตอน 8 โมงเช้า ผมเดินทางโดยการขี่มอเตอร์ไซค์ไปกับเพื่อน ๆ ถ้าคุณไปเที่ยวเมืองอังวะก็ต้องเดินทางบนถนนทางหลวงย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์ ประมาณ 360 กว่าไมล์ แล้วคุณจะพบป้ายบอกทางด้านขวามือเขียนไว้ว่า “ทางไปเมืองอังวะ” ให้เลี้ยวไปทางนั้นก็จะถึงเมืองอังวะครับ หรือถ้าจะเลือกเดินทางด้วยเรือก็สามารถออกจากมัณฑะเลย์แล้วไปทางฝั่งโอโต๊ะตาน (Otote Tan) ได้ ถ้าขับมอเตอร์ไซค์ด้วยตัวเองก็นำรถขึ้นเรือไปได้เลยครับ เมื่อถึงฝั่งอังวะก็สามารถขับมอเตอร์ไซค์เที่ยวได้ คุณจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่ารถอีก ถ้าคุณจะไปเที่ยวคนเดียวโดยไม่มีไกด์ไปด้วย ผมก็อยากแนะนำให้คุณใช้ google map หรือ map me นะครับ บริเวณด้านข้างของถนนทุกสายจะมีป้ายบอกทางต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ถ้าไม่ทราบทางก็สามารถถามชาวบ้าน หรือคนที่ผ่านไปผ่านมาบนถนนได้ครับ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นี่มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างแบบเหมาเที่ยวทั้งวัน ราคา 15 ดอลล่าร์ (ตามนิสัยสอดรู้สอดเห็นผมเลยไปถามจากคนขับรถที่รับส่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมานะครับ) นอกจากนี้ ก็สามารถเที่ยวชมเมืองด้วยรถม้าหรือเกวียนขนาดเล็กได้นะครับ ส่วนราคาผมไม่ทันได้ถามเพราะว่าผมรีบนิดหน่อย ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าว่าผมไปที่ไหนในเมืองอังวะบ้าง

 

1. ถนนกา แพงอิฐมหาเซยะปะทะ (อูโอ – ถนนกา แพงอิฐ) (Mahar Zaya Pahta brick road aka U Oh brick road)

สิ่งที่ทำให้ผมสนใจมาก ๆ เมื่อเริ่มเข้าในเขตเมืองอังวะ คือ กำแพงอิฐที่อยู่ริมถนน มันเป็นศิลปะแบบโบราณของที่นี่ แค่เริ่มเข้าในตัวเมืองผมก็ได้รู้สึกราวกับว่า ได้เข้ามาอยู่ในเมืองโบราณแท้ ๆ เลยครับ จุดนี้เรียกว่า “ถนนกำแพงอิฐมหาเซยะปะทะ” (อูโอ – ถนนกำแพงอิฐ) (Mahar Zaya Pahta brick road aka U Oh brick road) เพราะว่าพระมหากษัตริย์องค์แรกนามว่า “มีน ข่าว” (Min Khaung) เป็นผู้สร้างขึ้น ต่อมาก็มีได้การบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยของเจ้าเมืองซะลีน (Salin city) นามว่า “อูโอ” (U Oh) ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระนางแมนุ (Mel Nu) จึงตั้งชื่อตามชื่อของท่านเพื่อเป็นเกียรติ

2. วัดพระนางแมนุ หรือ วัดมหาอ่องมเหย่ป่งสั่น (Nan Mataw Mel Nu Oak Kyaung) (the brick monastery)

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณที่มีชื่อเสียง ถ้านึกถึงเมืองอังวะทุกคนจะนึกถึงวัดแห่งนี้ ผู้สร้างวัดแห่งนี้ คือ พระนางแมนุ (Mel Nu) พระนางแมนุสร้างวัดนี้เพื่อถวายแก่เจ้าอาวาสหญ่าวกั่น อูโป (Nyaunggan Sayadaw U Po) ในปี 1828 นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “วัดมหาอ่องมเหย่ป่งสั่น” ด้วย เมื่อเจ้าอาวาสหญ่าวกั่น อูโป มรณภาพก็ได้มีการมอบหน้าที่ดูแลวัดแห่งนี้ให้กับเจ้าอาวาสอูโบ๊ะ (U Bok) แต่ในปี 1838 ก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นบริเวณนี้ พระนางซินพยูมะฉี่น (Sin Phyu Mashin) มเหสีของพระเจ้ามินดง (Min Tone) พระธิดาของพระนางแมนุจึงให้บูรณะวัดขึ้นใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ประวัติของพระนางแมนุนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระนางแมนุเป็นพระอัครมเหสีของกษัตริย์สะกาย (Sagaing King) เมื่อพระเจ้าสารวดี (Thayar Wadi) ได้ทำการก่อกบฏในรัชสมัยของกษัตริย์สะกายสำเร็จจึงได้ประหารพระนางแมนุเพราะเธอเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่ง เจ้าอาวาสอูโบ๊ะ (U Bok) ซึ่งพระสงฆ์ที่พระนางแมนุเคารพนับถือมาก ได้กล่าวกับพระนางแมนุเป็นคนสุดท้ายว่า “โยม แมนุเอ๋ย...ถ้ามีเวรกรรมก็ต้องชดใช้” สำหรับทุกคนที่ศึกษาภาษาเมียนมาคงคุ้นเคยกับประโยคอยู่แล้ว และเราสามารถศึกษาสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ของยุคคองบองได้ที่วัดแห่งนี้

 

3. เจดีย์ที หล่าย ฉี่น (Htee Hlaing Shin Pagoda)

เจดีย์ที หล่าย ฉี่น (Htee Hlaing Shin Pagoda) เป็นเจดีย์องค์หนึ่งที่ควรไปเที่ยวชมเมื่อไปถึงยังเมืองอังวะ เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ข้าง ๆ วัดพระนางแมนุ ส่วนประวัติของเจดีย์ผมไม่ทราบรายละเอียดนะครับ

4.หอคอยกรุงอังวะ (Inn Wa Nanmyin Tower)

หอคอยกรุงอังวะสามารถเข้าได้จาก 2 ทางคือ ทางด้านกำแพงเก่าเมืองอังวะ และมีทางต่อจากวัดพระนางแมนุก็สามารถเดินไปได้เลยครับ หอคอยแห่งนี้มีความสูงประมาณ 30 เมตร สร้างขึ้นในปี 1822 เป็นสิ่งก่อสร้างอย่างเดียวที่เหลืออยู่ของพระราชวังพระเจ้าบะจีตอ (Bagyitaw’s palace) แต่เขาห้ามขึ้นไปด้านบนหอคอยนะครับ  เมื่อเราเดินทางออกจากที่นั่นก็เท่ากับว่าเราเที่ยวชมเมืองโบราณอังวะทางด้านขวาหมดแล้ว เดี๋ยวเราไปชมด้านซ้ายของกำแพงเมืองอังวะกันดีกว่านะครับ

5. ป้อมเพนียดคล้องช้าง (Sin Kyone Fortress)

ผมได้เข้าไปชมป้อมเพนียดคล้องช้าง (Sin Kyone Fortress) ที่อยู่ไกลออกไปก่อนครับ ป้อมแห่งนี้ตั้งอยู่แถว ๆ หมู่บ้านสิ่นโจ่ง (Sin Kyone) ทางทิศตะวันตกของเมืองอังวะ แล้วก็อยู่บริเวณทิศใต้ของแม่น้ำอิรวดีครับ ผมคิดว่าถ้าคุณไปที่นี่ตอนเย็นก็คงจะดีกว่า เพราะจะได้เห็นวิวสวย ๆ ตอนพระอาทิตย์ตกด้วยครับ สาเหตุที่เรียกว่า  ป้อมเพนียดคล้องช้าง (Sin Kyone Fortress) เพราะว่าเมื่อก่อนป้อมปราการแห่งนี้เป็นสถานที่คล้องช้างซึ่งสร้างโดยพระเจ้ามินดง เมื่อปี 1874 ครับ

6. เจดีย์ลอกะตะระผู่ (Lawka Thayaphu Pagoda)

เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในปี 1095 โดยพระเจ้าซิงพยูฉี่นตะนินกะเนว (Sin Phyu Shin Taninganway King) ราชวงศ์หญ่าวยัน (Nyoung Yan) เป็นผู้ริเริ่มการสร้างเจดีย์ขึ้น และเจ้าชายมหาดะมะ ยาซาดิปะติ (Mahar Damayarzar Dipatika) ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ได้ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ พระพุทธรูปในวัดถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ซึ่งครึ่งหนึ่งปรากฏอยู่บนพื้นและอีกครึ่งหนึ่งอยู่ใต้พื้น

7. วดับากะหย่า (Barkhayar Monastery)

 

วัดบากะหย่า (Barkhayar Monastery) เป็นวัดแห่งหนึ่งที่เห็นมรดกเก่าแก่ทางสถาปัตยกรรมและ ประติมากรรมเมียนมา วัดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าบะจีดอ (Bagyitaw) เมื่อปี 1196 เป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้สัก มีเสาไม้สักทั้งหมด 267 เสา

 

8. เจดีย์วงกตจ่องเลง (Kyoung Lane Maze Pagoda)

จากทางด้านซ้ายของวัดบากะหย่า (Barkhayar Monastery) แล้วเดินเข้าไปตามทางเกวียนเล็ก ก็จะเจอเจดีย์แห่งนี้ บริเวณเจดีย์ที่จะพบกับฐานอิฐใหญ่ และเจดีย์ต่าง ๆ แต่ผมไม่ทราบชื่อและความเป็นมาของเจดีย์แต่ละองค์เลย แม้ว่าได้เจอป้ายบอกทางที่มีชื่อของเจดีย์อยู่ พอเข้าไปใกล้ ๆ องค์เจดีย์ ผมก็ไม่รู้ได้ว่าเจดีย์องค์ไหนเป็นองค์ไหน แต่พบว่าข้าง ๆ เจดีย์เหล่านี้คือ เจดีย์มยีนโมต่าว (Myitmo Taung)

9. กลุ่มเจดีย์ยะดะหน่าสี่มี (Yadanar Simee group of pagodas)

 

กลุ่มเจดีย์ยะดะหน่าสี่มี (Yadanar Simee group of pagodas) เป็นกลุ่มเจดีย์ที่สามารถพบได้ตรงปากทางเมื่อออกมาจากวัดบากะหย่า เป็นกลุ่มเจดีย์ที่ผมชอบที่สุดเลยครับ แม้ว่าผมไม่ได้ทราบความเป็นมาของเจดีย์เหล่ามากเท่าไหร่ แต่ก็รู้ว่าโครงสร้างของเจดีย์ และซากเจดีย์ต่าง ๆ เป็นมรดกเก่าแก่อย่างหนึ่งที่เหมาะให้ช่างถ่ายรูปมาถ่ายรูปเพื่อแสดงทักษะของตัวเองได้อย่างเต็มที่เลยครับ

 

10. กลุ่มพระเจดีย์ด่อจาน (Daw Gyan group of pagodas)

กลุ่มพระเจดีย์ด่อจาน (Daw Gyan group of pagodas) ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเจดีย์ที่ผมไม่ได้ทราบความเป็นมา กลุ่มพระเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางขวาของกำแพงเมืองอังวะ

 

11. เจดีย์เลททัจี (Lay Htet Gyi Pagoda)

เจดีย์เลทัทจี (Lay Htet Gyi Pagoda) ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของเจดีย์มหามัยมุนี (Mahar Myat Muni pagoda)ซึ่งอยู่ที่เมืองอังวะ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าหญ่าวยาน (Nyoung Yan) ตอนที่เข้าไปในเมืองอังวะ คุณมองเห็นเจดีย์ขนาดใหญ่ทางด้านซ้ายของถนน เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ประดิษฐาน เจดีย์ตะจะตีหะ มัณฑะเลย์ (Mandalay Thakya Thiha pagoda) มาก่อน เจดีย์มีขนาดใหญ่และสามารถแยกแยะจากเจดีย์อื่นได้ง่าย นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมของเจดีย์ยังมีรายละเอียดที่ชัดเจนและโดดเด่น แต่สิ่งที่ผมเห็นมันคือ ความจริงอันน่าขมขื่น เพราะเจดีย์องค์นี้ ไม่ได้รับการบำรุงรักษาเลย ผมเห็นกองอิฐถูกทิ้งในบริเวณใกล้ ๆ และหากคุณมีเวลาคุณเที่ยวชมสถานที่ที่น่าสนใจได้มากกว่านี้ แต่ผมทำไม่ได้เพราะผมต้องกลับไปที่อมรปุระแล้ว

การเดินทางกลบั

     

ผมได้เดินทางกลับด้วยรถทัวร์ย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์ ชื่อรถคือ มัณฑะลามีน (Mandala Min) โดยรถออก 3 ทุ่ม ส่วนตั๋วรถผมก็ซื้อจาก Star Ticket ตามปกติครับ ผมต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้โชว์รูปภาพของสถานที่บางแห่งเพราะว่าไปเที่ยวคราวนี้ ผมรีบนิดหน่อย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ผมได้ใช้เงินไป 40,000 จั๊ต รวมค่ารถ ค่าขนม ค่าเดินทางไปเที่ยวอังวะ และอมรปุระครับ ที่ผมใช้เงินประมาณนี้ ก็เพราะว่าผมกินจุนิดนึง ไม่ว่าไปถึงที่ไหนผมก็กินตลอดเลย อิอิ ถ้ามีอะไรผิดพลาดไปช่วย ก็ช่วยแนะนำผมได้นะครับ ผมยินดีเป็นอย่างมากครับ สุดท้ายผมอยากฝากทุกคนว่า ถ้าไปเที่ยวโบราณสถาน อย่าลืมอนุรักษ์และดูแลโบราณสถานซึ่งเป็นมรดกของพวกเราด้วยนะครับ

 

ไว้เจอกันใหม่นะครับ......สวัสดีครับ

คุณชอบเนื้อหานี้หรือไม่?
หากคุณมีบัญชีของผู้ใช้ที่ทำให้เป็นปลาแมกเคอเรลคุณสามารถเพิ่มบุ๊กมาร์กลงใน mypage ของคุณได้

รีวิว


เมืองโบราณอังวะ (Inn-Wa) เดิมชื่อว่า ”อะวะ” (AVA)
0 / 5 (0 รีวิวจากผู้ใช้)
สิ่งที่คนพูด

แสดงความคิดเห็นจาก

สมาชิกเข้าสู่ระบบและปล่อยให้คะแนนของคุณ

หากต้องการแสดงความคิดเห็นโปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนสมาชิก

คุณมีบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo หรือไม่?

personLogin

รับบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo!

personลง ทะเบียน