ประเพณีที่น่ารักจากภูมิภาคตอนบนของประเทศเมียนมา
2020-02-19edit Min Thura HtayPhoto- งานบูชานตั
ต้นเดือนมีนาคมบริเวณริมถนนของภูมิภาคตอนบนจะตั้งแต่เมืองมะเกว (Ma Gway) เมืองมีนบู (Min-Buu) เมืองเหย่หนั่งชาว (Yay-Nan-Chaung) และพื้นที่อื่นๆ แต่ว่านักเขียนผู้ที่เติบโตมาจากที่นั่น อ้างว่าที่แห่งนั้นมีชื่อเรียกว่า “มเย่ ลั้ด” (Myay Lat) และพื้นที่ที่พวกเขาเรียกว่า “ภูมิภาคตอนบน” คือ เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) เมืองพะโค๊ะกู่ (Pakkoaku) เมืองมยีน ฉั่น (Myin Chan) และเมืองโมนยวา (Monywa) นอกจากนั้น ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่อง คือ ชาวพื้นเมืองนั้น กำเนิดจากเมืองหม่อ ไล้ (Maw Lite) เมืองมีนกีน (Min Kin) และเมืองขั่นตี (Khan Nee) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของแม่น้ำชีนตวีน (Chin Twin) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีของชาวพื้นเมืองว่า คนเหล่านั้น คือ คนภูมิภาคตอนบน ดังนั้น คุณสามารถพูดได้เลยว่า ภูมิภาคตอนบนของประเทศเมียนมามันกว้างจริง ๆ
“ภูมิภาคตอนบน” ที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ เมืองโมนยวา (Monywa) และเมืองยีน หม่า (Yin Mar) ซึ่งอยู่ในรัฐสะกาย (Sagaing) ตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อถึงเดือนมีนาคม จะมีการตั้งจุดรับทำบุญในพื้นที่แห่งนั้น ช่วงเวลานั้น คือ ช่วงเวลาของการเข้าสู่งานบูชานัต ซึ่งเป็นงานที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เมื่อถึงวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนมีนาคม ที่เมืองยีน หม่า (Yin Mar) จะจัดงานบูชานัต ณ อำเภอยีน หม่า ปิ่น (Yin Mar Pin) จังหวัดยีน หม่า ปิ่น (Yin Mar Pin)
Photo- เทศกาลวิญญาณตามธรรมเนียม
งานบูชานัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) จะจัดขึ้น ณ หมู่บ้านมาวโตง (Maung Tone) และหมู่บ้าน ซีตอต่าว (Zee Taw Taung) เมืองต่อหนั่น (Taw Nan) ตั้งแต่วันแรกของเดือนมีนาคม งานนี้มักจะใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์กว่าจะให้เสร็จสิ้น คุณไม่จำเป็นต้องสงสัยเกี่ยวกับความนิยมของงานนี้ เพราะมีคนนับแสนคนที่มาร่วมงานด้วยความตื่นเต้น จนผู้จัดงานต้องขอความร่วมมือจากชาวบ้านจากบริเวณใกล้เคียงให้มางานตามวันและเวลาที่กำหนด เพื่อลดความแออัดของผู้คน เช่น ชาวบ้านที่อยู่หมู่บ้านปะแล (Pa-Lal) มไย่ (Myaing) ยอ (Yaw) และปะคาน (Pa Khan) ให้ไปร่วมงานในวันที่ห้าหรือหก โดยนับจากวันเพ็ญของเดือนมีนาคม และชาวบ้านที่อยู่หมู่บ้านก้ะหนี่ (Ka Ni) และยีนหม่า (Yin Mar) ให้ไปวันที่เจ็ดหรือแปด โดยนับจากวันเพ็ญของเดือนมีนาคม ซึ่งหลังจากวันเพ็ญเราอาศัยที่อยู่ในหมู่บ้านยีนหม่า (Yin Mar) พวกเราจึงมักจะไปที่นั่นในวันที่เจ็ด ตอนที่เรายังเด็กนั้นต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ หรือ 10 วันเพื่อจะเดินทางไปงานบูชานัต เพราะการเดินทางไม่ได้สะดวกสบาย พวกเราจะต้องนั่งเกวียน เลยจำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมหลังคาเกวียน เตรียมหญ้าแห้งสำหรับวัว และเตรียมอาหารไว้รับประทานระหว่างเดินทางด้วย
สำหรับคนที่ไม่มีเกวียน ก็จะต้องจ่ายค่าโดยสารเกวียน และต้องใช้เวลาในการเดินทางเช่นกัน งานบูชานัตนี้จะจัดสามปีต่อหนึ่งครั้ง หากในปีนั้นในหมู่บ้านมีการจัดพิธีศพของพระสงฆ์ที่มรณภาพ เราก็จะต้องยกเลิกการจัดงานบูชานัต มิเช่นนั้น หมู่บ้านแห่งนั้นจะมีแต่ความโชคร้ายตลอดทั้งปี หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น คนทรงเจ้าจะต้องทำพิธีขอขมานัตและจัดงานใหม่ในปีถัดไป โดยแผนการจัดทั้งหมดจะต้องถูกยกเลิก หากในปีนั้นไม่มีงานศพ เมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาจัดงานก็จะมีการเตรียมเกวียน เตรียมทุกอย่างให้พร้อมตั้งแต่เช้าตรู่ และเริ่มออกเดินทางในตอนเย็น ขบวนเกวียนจะยาวไปบนท้องถนน พร้อมกับความรู้สึกของผู้คนที่ต้องการไปสัมผัสงานนี้สักครั้ง มีเสียงเด็ก ๆ หลายคนกำลังร้องไห้งอแงเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ไปร่วมงาน และเสียงสุนัขที่เห่าหอนตลอดทาง มันเสียงดังและดูโกลาหลวุ่นวายไปเสียหมด เมื่อขบวนเกวียนเริ่มออกจากหมู่บ้าน สภาพหมู่บ้านที่ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นก็เข้าสู่ความเป็นปกติ เงียบสงบอีกครั้ง และสาเหตุที่ชาวบ้านเลือกที่จะเดินทางไปตอนเย็นนั้น ก็เพราะวัวจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป ซึ่งถ้าเดินทางตอนเที่ยงวัวจะเหนื่อยและอากาศก็ร้อนมาก
หลังจากเดินทางมาตลอดทั้งคืน ตอนเช้าพวกเขาก็เดินทางไปถึงบริเวณศาลนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) ในเวลานั้นชาวบ้านก็เริ่มปลดวัวออกจากเกวียนและแอกขณะเดียวกันร้องเรียกนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) ไปด้วย พวกเขาต่างพากันพูดว่า “ลูกหลานของแม่มาเพื่อแสดงความเคารพ” และเริ่มวางแอกลงบนพื้นทำให้เกิดเสียงดังระงม นอกจากจะนำแอกมาวางบนพื้น ชาวบ้านยังมีความเชื่อว่าห้ามทำจานหรือหม้อน้ำ ที่อยู่บนเกวียนแตกเด็ดขาด
Photo- เทศกาลวิญญาณตามธรรมเนียม
เมื่อพวกเขาไปถึงศาลนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) ก็จะเริ่มเตรียมอาหารด้วยส่วนประกอบและเครื่องปรุงที่เตรียมมาจากบ้านเพื่อเป็นการบูชา เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วก็จะนำไปที่ศาลนัต และใส่น้ำอบหรือน้ำหอมที่นำมาจากบ้านรอบ ๆ บริเวณ อาจจะกล่าวได้ว่า มันคือการพิธีต้อนรับนัต หลังจากมีการดื่มน้ำจากศาลนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) แล้ว บางคนที่ว่าง ๆ ก็นำสินค้าจากท้องถิ่นของพวกเขามาขาย ผู้คนที่มางานก็สามารถเดินชมเพื่อเลือกซื้อสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังมีการขายอุปกรณ์สำหรับเกวียนวัว เช่น แอก อ้อย และสิ่งของอื่น ๆ ทั้งตะกร้าอ้อย เสื่อไม้ไผ่ หรือแม้กระทั่งส้มเขียวหวานจากภูมิภาคตอนบนของเมียนมาก็มีขาย ทั้งนี้ ผู้ที่มาร่วมงานมักเลือกซื้อสิ่งของที่พวกเขาต้องการจากตลาด อย่างเช่น ส่วนประกอบอาหาร หรือเครื่องปรุง หลังจากนั้นก็พักผ่อนเพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับในตอนเย็น แม้ว่าระยะทางจะไม่ไกลเท่าไหร่ แต่พวกเขาต้องใช้เวลาเดินทางถึง 3 วัน 2 คืน เลยทีเดียว
สมัยก่อนระบบการขนส่งไม่ดีนัก เลยต้องใช้เวลาในการเดินทางนานมาก แต่ในปัจจุบันนี้ระบบการขนส่งดีขึ้นมาก คุณสามารถเดินทางไปเที่ยวงานนี้โดยไม่ต้องใช้เวลาถึง 3 วัน 2 คืน ถ้าคุณออกจากหมู่บ้านตั้งแต่เช้าก็จะถึงที่นั่นประมาณ 10 โมงเช้า
เมื่อก่อน การขนส่งไม่ดี ดังนั้นต้องใช้เวลานานในการเดินทางแต่ปัจจุบันนี้ มันดีขึ้นกว่าเดิมมากและ คุณสามารถไปที่เทศกาลได้โดยไม่ต้องเดินทางสองคืนสามวัน คุณสามารถไปถึงที่นั่น ได้ประมาณ 10โมงเช้า ถ้าคุณออกจากหมู่บ้านในตอนเช้า
เนื่องจากระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้คนจึงเดินทางไปเที่ยวที่นั่นมากยิ่งขึ้น คนที่ไป 3 ปีครั้ง ก็มีโอกาสไปที่นั่นปีละครั้ง และชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ ก็สามารถไปงานนี้กันได้ง่ายขึ้น ดังนั้นงานบูชานัตแห่งนี้ก็จะมีชีวิตชีวามายิ่งขึ้น จากเดิมที่มีคนมาร่วมงานเยอะอยู่แล้วก็จะเยอะขึ้นกว่าเดิม และมีจุดรับทำบุญเพิ่มมากขึ้น ทำให้งานครึกครื้นมากกว่าเดิม ตั้งแต่จุดแรกที่เป็นสะพานไปจนถึงงานก็มีจุดรับทำบุญมากกว่า 300 แห่งเลยทีเดียว
เงินจากจุดรับทำบุญมากกว่า 300 แห่ง ทำให้มีรายได้มากกว่า 2,000,000 จั๊ตในแต่ละครั้ง ผมเชื่อว่าเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการได้รับเงินจำนวนมากนั้น ต้องเป็นเพราะประเพณีที่นี่น่ารักไม่เหมือนที่อื่น ๆ เพราะระหว่างการเดินทางไปยังงาน จุดรับทำบุญจะบริการน้ำตาลก้อน พลู ยำใบชา และขนมสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังมีถั่วลิสงต้ม มะเฟือง และแตงโม คุณสามารถรับประทานได้แม้คุณไม่ทำบุญ ผมคิดว่า นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของจุดรับทำบุญทั่วประเทศเมียนมา และจะมีการพูดเพื่อขอรับทำบุญผ่านลำโพง แต่จุดรับทำบุญงานบูชานัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) ก็มีการเลี้ยงขนมด้วยความเมตตา
คนเมียนมายินดีทำบุญเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีอะไรสำหรับตัวเองเลย นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ประเทศเมียนมาติดอันดับประเทศที่มีน้ำใจมากที่สุด แม้ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดอย่างอเมริกาก็ไม่สามารถเอาชนะประเทศของเราได้
หมู่บ้านของเรามีจุดรับทำบุญระหว่างทางไปงานบูชานัต ผมจึงได้รู้เกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องนี้ หมู่บ้านของเราชื่อว่าอ่าวโม (Aung Moe) และตั้งอยู่ใกล้กับสะพานชีนตวีน (Chin Twin) หลังจากที่ตั้งจุดรับบริจาคแล้ว เราก็ต้องเช่าชุดเครื่องเสียงมา แต่พวกเขามักจะไม่คิดค่าใช้จ่ายกับเรามากนัก เพราะมันเป็นการทำบุญเพื่อหมู่บ้าน ชายหนุ่มทุกคนจากหมู่บ้านจะเป็นผู้นำในการทำบุญ หญิงสาว และผู้ชายคนอื่นๆ จะอาสาทำงานบ้าน เงินทั้งหมดที่ได้รับไม่ใช่สำหรับค่าอาหารหรือสำหรับอาสาสมัคร ชาวบ้านก็มักจะใจดีทำบุญข้าว น้ำมัน และเครื่องปรุงอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีการทำบุญด้วยสิ่งอื่น เช่น ถั่วลิสง แตงโม และเครื่องดื่ม คุณสามารถพูดได้เลยว่า เงินทั้งหมดนั้น เป็นเงินเพื่อการทำบุญจริง ๆ
งานบูชานัตนี้มักจะสิ้นสุดในวันที่แปด โดยนับจากวันเพ็ญเดือนมีนาคม เงินที่ได้ในช่วงงานบูชานัตประมาณ 2,000,000 – 4,000,000 จั๊ต ก็เป็นเงินที่สามารถเอามาซ่อมแซมวัด หรือห้องสมุดได้เยอะมาก ๆ หลังจากงานบูชานัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) เสร็จสิ้นแล้ว อาจจะมีนักเขียนบางคนเขียนเรื่องความสัมพันธ์ในฐานะพี่น้องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ของนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) และนัตอ้ะ โลง โบ ด่อ จี (Ah Lone Boe Taw Gyi) แต่พวกเราเชื่อว่า งานบูชานัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) มาจากงานบูชานัตอ้ะ โลง โบ ด่อ จี (Ah Lone Boe Taw Gyi) หลังจากงานบูชานัตในวันที่แปด ในหมู่บ้านของเราก็ยังมีประเพณีต้อนรับนัตอ้ะ เหม่ เหย่ หยิ่น (A May Yay Yin) จะมีการทำขนมสีขาวและสีแดงที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้
ในประเทศเมียนมา มีทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อเรื่องนัต (ความเชื่อเรื่องวิญญาณของพม่า) แต่ในความคิดของผม ผมคิดว่า เราปฏิเสธไม่ได้ว่า มีความน่ารักบางอย่างแฝงอยู่ในประเพณีนี้ ในภูมิภาคตอนบนจะมีการจัดเทศกาลนี้ในช่วงเวลาเก็บเกี่ยวพืชผล เกษตรกรก็จึงให้ความสำคัญและใช้เวลากับงานนี้เป็นอย่างมาก และเราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า สมัยก่อนเราไม่ได้มีความสะดวกในการซื้อขายอาหารหรือสิ่งของ แต่งานบูชานัตนี้ทำให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่หลักของการซื้อขายอาหารและสิ่งของ แม้จะมีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องนัต แต่ผมเขียนบทความนี้เพราะผมคิดถึงประสบการณ์ไปร่วมงานบูชานัตในสมัยที่ผมยังเด็ก
รีวิว
แสดงความคิดเห็นจาก