งานหัตถกรรมและธุรกิจร่มปะเต็ง

2019-08-09edit Ye Naung

ทุกเชื้อชาติล้วนมีงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่า และเป็นที่น่าชื่นชม ศิลปะและงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม ทัศนคติที่ดีเช่นนี้ควรมาพร้อมกับความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์ศิลปะและงานฝีมือเหล่านั้น แต่ทุกวันนี้เรากลับพบว่าการผลิตสินค้าประเภทงานฝีมือกลับเน้นในเรื่องของจำนวนเป็นสำคัญ ทำให้สถานะของสินค้าหัตถกรรมดำรงอยู่ด้วยความลำบาก อาทิ เครื่องเขินของเมียนมา ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีลวดลายอ่อนช้อยสวยงาม ก็มีสถานะเชิงธุรกิจที่ยากลำบากเช่นกัน


ยังมีงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมของเมียนมา และศิลปะหลายประเภทที่กำลังดิ้นรนต่อสู้ในเชิงธุรกิจด้วยความยากลำยาก ไม่ใช่เพียง วงดนตรีเมียนมา (Saing Waing) อะเญ่ง (A Nyeint) ละคร (Zat Pwe) และการรำพม่า เท่านั้น แต่ควรมีการอนุรักษ์งานฝีมืออย่างร่มปะเต็ง (Pathein Parasols) ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน



เมื่อผู้คนเราพูดถึงวัฒนธรรมและงานหัตถกรรมที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน เรามักจะคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่โบราณสุด ๆ ซึ่งมันก็เป็นธรรมชาติที่ใคร ๆ จะคิดแบบนั้น แต่ยิ่งวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมามีความเก่าแก่มากเท่าไหร่ นั่นย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมีอารยธรรมภายในประเทศ และควรยอมรับว่าประวัติศาสตร์ คือ เรื่องที่เป็นไปตามหลักฐานที่ปรากฏ แต่ไม่ควรเขียนบันทึกทางประวัติศาสตร์โดยอ้างอิงจากความรักชาติเท่านั้น แต่ควรมีหลักฐานที่ชัดเจน ดังนั้น เราควรยอมรับความเป็นมาของงานฝีมือว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร



ร่มปะเต็ง (Pathein Parasols) คือ ร่มที่ผลิตขึ้น ณ เมืองปะเต็ง (Pathein)  เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ตั้งแต่ 130 กว่าปีก่อน ในรัชสมัยของพระเจ้าสีป้อ (Thibaw Min) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์คองบอง (Konbaung) ร่มปะเต็งถูกประดิษฐ์ขึ้น ณ เมืองปะเต็ง (Pathein) โดยนักปราชญ์และศิลปิน ชื่อว่า “อู ชเว่ ส่า” (U Shwe Saw) เป็นผู้ที่ริเริ่มผลิตงานฝีมือที่น่าสนใจชิ้นนี้เพื่อถวายเป็นร่มของกษัตริย์



เวลานั้น สมาชิกในราชวงศ์คองบอง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าฟ้า ต่างใช้ร่มที่ทำด้วยผ้าที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง โดยประชาชนทั่วไปจะไม่ได้มีโอกาสใช้ร่มลักษณะเช่นนี้ นอกจากนี้ ร่มเป็นสัญลักษณ์ในการบ่งบอกยศหรือตำแหน่งอีกด้วย แต่ไม่ควรสรุปว่า ประเทศเมียนมาในสมัยที่มีกษัตริย์ปกครองใช้ร่มในการแบ่งชนชั้น

 

คุณควรทราบว่า สิ่งนี้มันเกิดขึ้นในสมัยเอกาธิปัตย์ ถ้าคุณมองไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ตามบันทึกของ Simon de la Loubère ทูตจากฝรั่งเศส ในปี 1687 และ 1688 ได้เขียนบันทึกไว้ใน "New Historical Relation of the Kingdom of Siam"  ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1693 ว่า การใช้ร่มเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์



ร้านขายร่มแห่งแรก

ร้านขายร่มแห่งแรก ชื่อว่า "James Smith and Sons"  เปิดในปี 1830 และยังคงตั้งอยู่ที่ 53 New Oxford Street ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฉันอดไม่ได้ที่จะแสดงความภาคภูมิใจในเมืองปะเต็ง ที่ยังคงมีการฝึกทำร่มแบบดั้งเดิมอยู่โดย  อู ชเว่ ส่า (U Shwe Sar) และลูกชาย ก็เปรียบเสมือน James Smith และลูกชายนั่นเอง



ร่มปะเต็ง คืออะไร

ร่มปะเต็งซึ่งเป็นมรดกทางหัตถกรรมเมียนมาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เริ่มจากปี 1885 อู ชเว่ ส่า (U Shwe Sar)  ได้หลบหนีออกมาจากพระราชวังยะด้ะหน่าโบง (Ya Ta Na Pone Golden Palace) ซึ่งพระเจ้าสีป้อ (Thi Baw) ได้ถูกควบคุมโดยอังกฤษ อู ชเว่ ส่า (U Shwe Sar) และบรรดานักปราชญ์ต่างพากันหนีออกจากพระราชวัง



เมื่อ อู ชเว่ ส่า (U Shwe Sar) เดินทางมาถึงเมืองปะเต็ง (Pathein) บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ซึ่งห่างจากพระราชวังประมาณ 700 กิโลเมตร ที่นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นงานของเขา อู ชเว่ ส่า (U Shwe Sar) ได้เริ่มทำธุรกิจจากงานที่เขาคุ้นเคย นั่นคือ การทำร่มปะเต็ง และเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ ในเวลาต่อมา



ร่มปะเต็งทำอย่างไร

การทำร่มปะเต็ง 1 คันใช้เวลานานประมาณ 1 สัปดาห์ และยังมีทั้งหมด 56 ขั้นในการทำร่ม ตั้งแต่การเลือกชนิดของผ้า และการเตรียมไม้ไผ่ที่ใช้ในการประดิษฐ์ร่มก็มีความสำคัญมาก ๆ การตัดไม้ไผ่ก็ควรตัดในฤดูฝนจะดีที่สุด ฉันไม่รู้ว่าที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นจัดการเรื่องสีของไม้ไผ่อย่างไร แต่ที่เมียนมาคนที่ทำร่มปะเต็ง ใช้วิธีแบบโบราณ คือการนำไม้ไผ่แช่น้ำไว้ประมาณ 2 เดือน พวกเขาใช้น้ำจากมันสำปะหลังและลูกพลับ ผสมด้วยผงข้าวเหนียวผสมกัน ขั้นสุดท้ายก็ใช้น้ำมันงาเพื่อขัดเงาร่มที่ตากแดดให้แห้งแล้ว การออกแบบของร่มจะเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด



มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการงานฝีมือแบบดั้งเดิมจะอยู่รอดในยุคเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกเสี้ยววินาที นอกจากนี้ ธุรกิจลักษณะนี้ยังเป็นธุรกิจขนาดเล็กประเภทหนึ่งที่สนับสนุนการสร้างรายได้ของชาวบ้านในประเทศ ดังนั้น ควรมีการอนุรักษ์งานฝีมืออย่างร่มปะเต็ง (Pathein Parasols) ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของเมียนมาต่อไป

คุณชอบเนื้อหานี้หรือไม่?
หากคุณมีบัญชีของผู้ใช้ที่ทำให้เป็นปลาแมกเคอเรลคุณสามารถเพิ่มบุ๊กมาร์กลงใน mypage ของคุณได้

รีวิว


งานหัตถกรรมและธุรกิจร่มปะเต็ง
0 / 5 (0 รีวิวจากผู้ใช้)
สิ่งที่คนพูด

แสดงความคิดเห็นจาก

สมาชิกเข้าสู่ระบบและปล่อยให้คะแนนของคุณ

หากต้องการแสดงความคิดเห็นโปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนสมาชิก

คุณมีบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo หรือไม่?

personLogin

รับบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo!

personลง ทะเบียน