ซุดปร่าโบ่ง ที่ปกคลุมด้วยความรัก

2020-01-27edit nyeinsuwai

ถ้าหากคุณรักแม่น้ำ ภูเขา และป่าไม้ ถ้าคุณสัมผัสถึงความสวยงามของธรรมชาติ และถ้าคุณชอบชาวพื้นเมือง และประเทศชาติของตัวเองแล้ว ถ้าอย่างนั้นลองไปเที่ยวยังดินแดนมะนอ (Ma Naw) ซึ่งนอกจากจะพบกับชนเผ่าชาวพื้นเมืองแล้ว ก็สามารถมองเห็นชนเผ่าชาวอื่น ๆ ได้แก่ กะฉิ่น ฉิ่น เมียนมา ฉาน นาคา และยังเป็นดินแดนที่มีประวัติที่สวยงาม

Ka-Chin

แท้จริงแล้ว คำที่ว่า “กะฉิ่น” (Ka Chin) คือ คำที่คนเมียนมาเรียกเท่านั้น และไม่ใช่ชื่อของชาวกะฉิ่น (Ka Chin) จริง ๆ เพราะชาวกะฉิ่นมีชนเผ่าหลัก 6 กลุ่ม คือ จีนพอ (Jane Phot)  อะซี (Ah Zee) หรือเรียกว่า ไซวา(Zyne War) ละชี (La Shee) หรือเรียกว่า ลาชัน (La Chan)  ลีซู (Li Suu) ระวาง (Ya Won) และ มะรู (Ma Yu) หรือเรียกว่า  ลอปอ  (Law Paw) รวมทั้งหมด 6 กลุ่ม แล้วจึงเรียกว่าชาวกะฉิ่น (Ka Chin) ประวัติของชาวกะฉิ่นเหมือนตำนานมาก เขาว่ากันว่า คนโบราณชาวกะฉิ่นสืบมาจากภูเขาหนึ่งลูก ที่เรียกแบบภาษากะฉิ่นว่า “Majoi Shngra Bum” ถึงแม้ว่าไม่สามารถบอกที่ตั้งของภูเขาลูกนั้นได้ชัดเจน แต่กล่าวกันว่า ภูเขาลูกนั้นอยู่ไม่ไกลจากภูเขาที่ชาวทิเบตอยู่อาศัยกัน ชาวกะฉิ่นบางคนเชื่อว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากบิดาคนแรกของชนเผ่ามนุษย์ที่เรียกว่า “Ninggawn Wa Magam”

แท้จริงแล้ว คำที่ว่า “กะฉิ่น” (Ka Chin) คือ คำที่คนเมียนมาเรียกเท่านั้น และไม่ใช่ชื่อของชาวกะฉิ่น (Ka Chin) จริง ๆ เพราะชาวกะฉิ่นมีชนเผ่าหลัก 6 กลุ่ม คือ จีนพอ (Jane Phot)  อะซี (Ah Zee) หรือเรียกว่า ไซวา(Zyne War) ละชี (La Shee) หรือเรียกว่า ลาชัน (La Chan)  ลีซู (Li Suu) ระวาง (Ya Won) และ มะรู (Ma Yu) หรือเรียกว่า  ลอปอ  (Law Paw) รวมทั้งหมด 6 กลุ่ม แล้วจึงเรียกว่าชาวกะฉิ่น (Ka Chin) ประวัติของชาวกะฉิ่นเหมือนตำนานมาก เขาว่ากันว่า คนโบราณชาวกะฉิ่นสืบมาจากภูเขาหนึ่งลูก ที่เรียกแบบภาษากะฉิ่นว่า “Majoi Shngra Bum” ถึงแม้ว่าไม่สามารถบอกที่ตั้งของภูเขาลูกนั้นได้ชัดเจน แต่กล่าวกันว่า ภูเขาลูกนั้นอยู่ไม่ไกลจากภูเขาที่ชาวทิเบตอยู่อาศัยกัน ชาวกะฉิ่นบางคนเชื่อว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากบิดาคนแรกของชนเผ่ามนุษย์ที่เรียกว่า “Ninggawn Wa Magam” ปัจจุบัน ชาวกะฉิ่น เชื่อกันไว้ว่า ชาวกะฉิ่นโบราณที่ย้ายมาอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศเมียนมา มาจากที่ราบสูงทิเบต ในช่วงระหว่างศตวรรษ 15 และ ศตวรรษ 16 ชาวกะฉิ่นที่อยู่ทางทิศใต้ เรียกว่า “จีนพอ” (Jane Phot) และ ชาวกะฉิ่นที่อยู่ทิศเหนือ(ริมแม่น้ำ) เรียกว่า “ขะขุ” (Kha Khu) จีนพอ (Jane Phot) ถือเป็นผู้แนะนำให้คนทั่วโลกรู้จัก “กะฉิ่น” ทั้งวรรณคดีและภาษากะฉิ่นที่ปรากฏมาเป็นครั้งแรก จีนพอเป็นที่รู้จักมากขึ้นก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่คิดว่า “จีนพอ” คือ กะฉิ่น และเป็นเพราะว่า หัวหน้าชนเผ่าอื่น ๆใช้ภาษาและวรรณคดีของจีนพอ ตอนที่ยังไม่มีภาษาของตัวเอง ตามที่เอกสารของชาวจีนพอ ความหมายของคำว่า “จีนพอ” (Jane Phot) นั้น แปลว่า “คน” ในภาษาของพวกเขา เรียกว่า “มะชะ” (Ma Sha) นอกจากนั้น ยังมีบางคนเรียกกันว่า จีนใส่ (Jean-Sine) หรือ พอใส่ (Phaw Sine) ความหมายก็คือ ความมั่นคงและความคิดเห็นกว้างขวาง เพราะฉะนั้น เราสามารถแปลคำว่า จีนพอ ได้ว่า เชื้อชาติ ที่มี ความมั่นคงและมีความคิดเห็นที่กว้างขวาง ที่เราเขียนมาเมื่อสักครู่นั้น เป็นแค่ข้อมูลที่เราพยายามค้นคว้า ถ้าหากข้อมูลมีความผิดพลาด ทางเราต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า

รัฐกะฉิ่น (Ka Chin State) มิดจีนา (Myit Kyi Nar)  

 

เขตแดนทางภาคเหนือของประเทศเมียนมา มี  4 จังหวัด และแบ่งเป็น 18 อำเภอ เมืองมิดจีนา (Myit Kyi Nar) เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่ประเทศเมียนมามีกษัตริย์ปกครองแล้ว ก่อนปี 1892 เมืองนี้เป็นแค่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีชาวเมียนมา - ฉาน อาศัยอยู่ ที่ตั้งอยู่ในเขตโมก่าว  (Moe Kaung) เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ กับแม่น้ำอิรวดี จึงถูกเรียกว่า “มิดจีนา” (Myit Kyi Nar) ปี พ.ศ.2491 วันที่ 4 เดือนมกราคม หลังจากประกาศเมียนมาได้รับอิสรภาพ ในวันที่ 10 รัฐบาลกำหนดเป็นรัฐกะฉิ่น ตั้งแต่นั้นมา เมืองมิดจีนาก็เป็นเมืองหลวงของรัฐกะฉิ่น

ถึงแม้ว่าสามารถนั่งรถไปได้โดยตรง แต่เราขอแนะนำว่าอย่าทำอย่างนั้นเลยครับ ถ้าคุณอยากจะนั่งรถบัสทางไกล ก็สามารถซื้อตั๋วได้จากท่ารถ เช่น High Class มัณทะลามิน เชวกะฉิ่น เป็นต้น ราคาวีไอพี 2+1 ก็ประมาณระหว่าง 35,000 - 40,000 จั๊ตเท่านั้น และจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 25 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ทางเราขอแนะนำนั่งรถ ย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ ในตอนกลางคืน แล้วนั่งรถไฟต่อตอนกลางวัน สำหรับตั๋วรถไฟ คุณต้องจองตั๋วล่วงหน้า 3 วันก่อน เพราะอาจจะไม่มีตั๋ว และต้องให้เจ้าหน้าที่ดูบัตรประชาชนของคุณด้วย (ชาวต่างชาติใช้พาสปอร์ต) ถ้าหากคุณจะให้บางคนจากมัณฑะเลย์ซื้อตั๋วแทน ก็ภาพถ่ายบัตรประชาชนให้ชัดเจนก่อน แล้วส่งให้เขาซื้อตั๋วแทน ถ้าจะนั่งรถไฟไปก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการเดินทางจากมัณฑะเลย์ - มิดจีนา ด้านล่างได้เลยนะครับ ถ้าจะนั่งเครื่องบินไปราคาตั๋วประมาณ 100,000 จั๊ตขึ้นไป

การนั่งรถไฟไปมิดจีนานั้นมีจะความสะดวกมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเดินทางด้วยรถหรือรถไฟ จะต้องใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง สาเหตุที่เราอยากให้คุณนั้นเดินทางไปด้วยรถไฟนั้น ก็เพราะว่าเราอยากให้คุณมีความสะดวกสบายในการเดินทาง ถ้าหากจะนั่งรถไฟไปก็สามารถไปกับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟ Mandala ได้ ราคาตั๋วสำหรับรถไฟความเร็วสูง มิดจีนา-มัณฑะเลย์ ราคา 18,000 จั๊ตเท่านั้น จะเริ่มออกเดินทางตอนบ่ายโมงตรง และถึงมิดจีนา ประมาณ 9โมงเช้า ราคาสำหรับชั้นธรรมดา ราคา 9,000 จั๊ต แม้ว่าราคาถูกแต่บอกเลยว่า มันเหนื่อยทั้งกายและใจ ถ้าหากต้องการไปกับเครื่องบิน จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนราคาตั๋วขึ้นอยู่กับฤดูกาล มีราคาตั้งแต่ 60,000 – 100,000 จั๊ต หรือถ้าไปด้วยรถยนต์ คนขับรถอาจจะเหนื่อยมาก ๆ และอาจมีความสัมพันธ์แย่ ๆ ระหว่างผู้โดยสารและคนขับรถ ถ้าคุณเวลาว่างมาก ๆ ก็สามารถนั่งเรือไปได้เหมือนกัน คุณจะได้มีความรู้สึกสดชื่น เวลาเห็นธรรมชาติที่สวยงามตามแม่น้ำอิรวดี แล้วถ้าคุณโชคดี ก็จะได้เห็นปลาโลมาอิรวดี ส่วนที่พักก็มีหลายโรงแรม เช่น โรงแรม Cartel ที่สามารถมองเห็นวิวสวย ๆ จากชั้นบน โรงแรม Madria โรงแรม Myit Sone โรงแรมมิดจีนา โรงแรม Hukaung ที่ราคาถูกและโด่งดัง ราคาก็ประมาณ 40,000 จั๊ต ถือว่าราคาถูก แล้วยังมีโรงแรม Malikha ที่ราคาถูกเหมือนกัน

จะรับประทานอะไร

มีร้านอาหารที่รสชาติดี อาหารอร่อยอยู่ตลอดทาง สำหรับอาหารเมียนมามีร้านชื่อว่า “ลแว ลิ่ง” (‘Lwal-Lin) ร้าน “อ่าน ตี่ ยุ๊” (Aunty-Yu) โดยเมนูที่มีชื่อเสียงของร้านมีหลายเมนู เช่น ยำหมู ยำไข่ไก่ สำหรับข้าวหมก มีร้าน “หยั่นโก่งดั่นเป้า” (The Yangon Biryani) สำหรับอาหารกะฉิ่น มีร้าน “ซัมเมอร์ เฮ้าส์” (Summer House) ร้านโหล่ง ก่า ป่า (Lone Ga Pa ) ที่อยู่ ในเมืองมะนอ และ ข้าวหมกกะฉิ่น ร้าน “ซานซานตี่” (San San Thi) สำหรับคนที่อยากทานอาหารฝรั่งเศส ร้าน Ledo Bari ที่อยู่บนถนนลีโด่ (Ledo) สำหรือเมนูหมูกระทะสามารถทานได้ที่ร้าน M2 และเราขอแนะนำให้ท่านดื่มเหล้าไข่ไก่ของตลาดนัดที่นี่ เป็นเมนูที่โด่งดังมาก

จะไปเที่ยวอย่างไร

ถ้าอยากจะไปเที่ยวรอบ ๆ เมืองมิดจีนา สามารถเหมารถในราคา 80,000 จั๊ตต่อวัน แต่ขึ้นอยู่กับประเภทของรถด้วย ถ้าจะเหมา 3 คืน 4 วัน ต่อไป อินด่อจี (Inn Taw Gyi) - ซะโลงต่อง (Zalon mountain) ก็สามารถเหมารถสำหรับ 10 - 15 คน ในราคา 600,000 จั๊ต ขึ้นไป

จุดที่แม่น้ำมาบรรจบกัน

จุดที่แม่น้ำแม่น้ำเมคะ (May Kha) และแม่น้ำมะลิคะ (Malikha) มาบรรจบกันนั้น เป็นต้นกำเนิดน้ำของแม่น้ำอิรวดี (Ayeyarwady) ถ้าจะขับรถไป จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง กว่าจะถึงจุดนั้น จุดซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญของแม่น้ำอิรวดี ประเทศเมียนมา คุณจะพบว่าน้ำที่นี่ใสมาก และมีก้อนหินเล็ก ๆ ที่อยู่ใต้แม่น้ำ นอกจากนี้ สามารถมองดูภูเขา ที่มีฉากหลังเป็นท้องฟ้าที่สดใจ  และสามารถยืมชุดชาวกะฉิ่นมาถ่ายรูปสวย ๆ เพื่อเป็นที่ระลึกได้อีกด้วย

สะพานไม้ไผ่ เหย่ จี “Yay-Kyi” และสะพานแขวน ตั่นยอสิ่น (Than-Yaw-Zin)

มันเป็นจุดพักผ่อนระหว่างทางไปจุดบรรจบของแม่น้ำ ซึ่งห่างจากมิดจีนาเพียง 20 ไมล์เท่านั้น บริเวณนั้นมีซุ้มไม้ไผ่หลังเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นเป็นแนวริมแม่น้ำ โดยคุณสามารถลงไปนั่งเล่นเพื่อสัมผัสกับความสวยงามธรรมชาติได้ที่นั่น

เจดีย์กะบาโลง (Kabar-Lone)

เจดีย์แห่งนี้แตกต่างจากเจดีย์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างของมันเป็นเอกลักษณ์ เจดีย์กะบาโลง (Kabar-Lone) อยู่ระหว่างทางไปแม่น้ำมิดโซง (Myit Sone) ซึ่งเราจะต้องไปเที่ยวที่นั่นสักครั้ง

สถานที่พักผ่อน Y Garden

ที่แห่งนี้ห่างจากมิดจีนาประมาณ 19 ไมล์ และตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโหล่ง ก่า ซูบ (Lone Ga Zoo) ก่อนถึงจุดที่แม่น้ำแม่น้ำเมคะ (May Kha) และแม่น้ำมะลิคะ (Malikha) มาบรรจบ ตอนขากลับจากแม่น้ำมิดโซง (Myit Sone) คุณสามารถแวะพักผ่อนและถ่ายรูปสวย ๆ ได้ที่นี่

ภูเขาจ่อ บู่น (Jaw-Bouan Mountain)

ชาวพื้นเมืองเรียกภูเขาแห่งนี้ด้วยภาษากะฉิ่นว่า "Jaw Masat Akyu Hpi Bum" ภูเขาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโบสถ์ชื่อ “หน่าว นาน” (Naung Nan) ซึ่งสร้างขึ้นก่อนปี 1977 ในเวลานั้น หอสวดมนต์สร้างด้วยไม้ไผ่ธรรมดา ๆ เท่านั้น แต่วันนี้สถานที่แห่งนี้ได้รับการปรับปรุง มีการก่อสร้างอาคารด้วยอิฐ เป็นลักษณะหกเหลี่ยม และมีความสูง 600 ฟุต จากหอคอยคุณสามารถมองเห็น หลุมศพของชาวคริสเตียนมากมาย ในอีกด้านหนึ่งมีหลุมศพของอดีตผู้นำคนสำคัญด้วยเช่นกัน จากหอสวดมนต์ คุณสามารถชมความสวยงามของธรรมชาติและสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี ชื่อ “สะพานบะละมีนติ่น” (Bala Min Htin)

น้ำตกสะโดง (Sa Don)

จากมิดจีนาคุณต้องใช้เวลาในเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อไปที่นั่น และคุณต้องแจ้งให้ทหารประจำเมืองมิดจีนาทราบว่า คุณจะเดินทางไปยังเขตชายแดนการค้าขายจีน  “มิดจีนา – กั่นไป๊ตี่” (Myit Kyi Nar  - Kan Pite Ti)  แต่ในช่วงฤดูฝนคุณจะไม่สามารถเดินทางไปที่นั่นได้ เพราะถนนเป็นหลุมเป็นบ่อค่อนข้างมากมันจึงอาจเป็นอันตรายและยากที่จะปีนขึ้นปีนลงน้ำตกที่สูงชัน และมีถึง 8 ชั้น เพราะการปีนขึ้นลงในช่วงฤดูฝนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้น ปัจจุบันนี้รัฐจึงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเพียงชั้น 4 เท่านั้น ทั้งนี้ การเดินขึ้นไปที่น้ำตกสะโดง (Sa Don) คุณต้องข้ามสะพานแขวนที่ถ่ายรูปออกมาได้สวยมาก ๆ ซะก่อน

สนามสี่ต่าปู่มะนอ (Si Tar Pu Manaw)

สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของรัฐกะฉิ่น เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำ และ ประเพณีที่สวยงามทางประวัติศาสตร์ 6 วันหลังจากวันประกาศอิสรภาพของเมียนมา (4 มกราคม 1948) ในวันที่ 10 มกราคม 1948 ถูกกำหนดให้เป็นวันรัฐคะฉิ่น จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็มีการจัดเทศกาลมะนอ (Manaw) ขึ้นโดยรัฐกะฉิ่น เทศกาลมะนอจะจัดขึ้นในสนามสี่ต่าปู่มะนอ (Si Tar Pu Manaw) โดยมีเสามะนอ (Manaw) แบ่งเป็นเสาชาย เรียกว่า “โด่ง หล่า” (Don Lar) และเสาหญิง เรียกว่า “โด่ง หยี่” (Don Yi) ซึ่งถูกกำหนดโดยวิธีการดูสัญญาณจากดวงจันทร์บริเวณด้านบนของเสามะนอ ถ้าดวงจันทร์มีความเว้า ก็แสดงว่า เสานั้นเป็นเสาหญิง และถ้ามันนูน แสดงว่า เสานั้นเป็นเสาชาย ลวดลายของเสามะนอมีลักษณะเป็นลายตาหมากรุก ลวดลายและรูปแบบเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการเต้นรำในงานนั่นเอง มันเป็นเรื่องที่น่าทึ่งและเป็นที่ยอมรับว่า สิ่งนี้ คือ สัญลักษณ์ของความสามัคคี โดยเสาอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เสาชายและเสาหญิงซึ่งตั้งอยู่บริเวณตรงกลาง หมายถึง พันธะที่มั่นคง เสามะนอ การเต้นรำมะนอ และสัญลักษณ์ของตัวเลขนั้นมีความหมายแฝงอยู่ ส่วนตัวเสามะนอเองก็ดูสวยงามและน่าหลงใหล หากคุณมีโอกาสไปที่นั่น คุณควรศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของเสามะนอไว้บ้าง

 

วัดฮินดูตี่ริหย่ามะจ่านะดี่ (Thiri yarma naki)

วัดสีทองอร่ามแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่บริเวณตลาดมโย๊ะ มะ (Myo Ma) ริมน้ำแม่น้ำอิรวดี เมื่อคุณไปถึงสถานที่แห่งนี้ คุณจะรู้สึกเหมือนคุณอยู่ในต่างประเทศ บรรยากาศตอนกลางคืนก็สวยงามถ่ายรูปออกมาสวยมาก ๆ

 

ทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi)

มีความเชื่อว่าภูมิภาคอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) เป็นเมืองหลวงทองคำที่สูญหายของกษัตริย์อ๊กตะยะซอพิว (Oaktaya Saw Phyu Kin) ทะเลสาบอยู่ในเขตโมยีน (Moe Nyin) ในรัฐกะฉิ่น และถือว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานที่แห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยภูเขา 16 ลูก รวมทั้ง ภูเขา 3 ลูกที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับลำธาร 12 สาย จากทั้ง 4 ทิศ มารวมกันกลายเป็นทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) ผมรู้ว่านั้นมีแม่น้ำ 6 สายที่ได้รับอนุญาตให้ไหลลงสู่ทะเลสาบนั้นได้ และมีแม่น้ำ 18 สายที่ไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถพบสัตว์อพยพหลายพันตัว นกจำศีล สัตว์หายาก กล้วยไม้ ผีเสื้อ แมลง และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณโชคดี คุณจะเห็นนกเงือกที่หายากรอบ ๆ ทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) และหมู่บ้านบนเขาสูง ผมอยากแนะนำให้คุณแวะชมวัฒนธรรมของชาวกะฉิ่น ขณะที่พายเรือคายัคและขี่จักรยาน ค่าใช้จ่ายในการเช่าเรือคายัคประมาณ 15,000 จั๊ต และไม่อนุญาตให้พายในฤดูฝน หากคุณต้องการค้างคืนที่อีนต่อจี (Inn Taw Gyi) คุณสามารถพักที่อีนต่อจีมหา (Inn Taw Gyi Mahar) และอีนต่อจีตา (Inn Taw Gyi Thar) หมู่บ้านโลงโต่ง (Lone Tone) ราคาของ ห้องพักถูกมาก ( คนละ 5,000 จั๊ต) แต่ที่นี่เพียงมีไม่กี่ห้องเท่านั้น ดังนั้น คุณจะต้องจองล่วงหน้า และวิวในยามเช้าที่ทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) มันสวยเหมือนรูปวาดเลยล่ะ

เจดีย์กลางน้ำชเว่มี่งสู่ (Shwe Myitzu)

เจดีย์กลางน้ำชเว่มี่งสู่ (Shwe Myitzu) ตั้งอยู่ตรงกลางทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) ในเดือนมีนาคมจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองเป็นประจำทุก ๆ ปี ในช่วงเทศกาลผู้คนเชื่อว่ามี 2 วิธีที่จะไปกลางน้ำได้ คือ ช่องทางสำหรับประชาชน และอีกช่องทางหนึ่งเป็นช่องทางสำหรับวิญญาณ เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่ผู้คนแออัดมาก ๆ เพราะเป็นเทศกาลที่ผู้คนให้ความสนใจมาร่วมงาน คุณสามารถนั่งเรือไปที่เจดีย์ ระหว่างทางก็สามารถให้อาหารนกนางนวลได้ด้วย ราคาค่าเรือไปกลับเพียง 2,000 จั๊ตเท่านั้น ผมอยากจะขอคุณว่า โปรดอย่าทิ้งขยะลงใน ทะเลสาบ

หากคุณมีเวลาคุณสามารถไปเที่ยวที่เจดีย์งเว่มี่งสู่ (Ngwe Myitzu) ที่หมู่บ้านลวาน โมง (Lwal Mon) พบโดยแม่ม่าย ชื่อ “ด่อโหม่ง” (Daw Hmone หรือไปเดินป่าที่ภูเขาชเว่ (Shwe) ทางตอนเหนือของทะเลสาบ ภูเขาที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลสาบ และมีภูเขาที่สูงมาแห่งหนึ่งชื่อ “ภูเขาป่าหลิน” (Pa Lin mountain) ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการเดินป่า คุณจะต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน ในการเดินป่าที่นั่นและมันจะคุ้มค่ามาก ๆ เพราะวิวของหมอกที่ลอยอยู่ในตอนเช้าของฤดูหนาวบนยอดเขา เป็นสิ่งที่ไม่อาจลืมได้เลย คุณอาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมดประมาณ 5 ชั่วโมง หากคุณยังไม่พอใจ หลังจากไปเที่ยวที่อีนต่อจี (Inn Taw Gyi) คุณสามารถไปที่ภูเขาซะโลง (Za Lon) เมืองบานเม่า (Ban Mout)

ชายหาดโฮ่ ผ่า (Ho Phar) 

ชายหาดแห่งนี้อยู่ใกล้หมู่บ้านโฮ่ ผ่า (Ho Phar)  ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเลสาบอีนต่อจี (Inn Taw Gyi) มากนัก หลังจากไปเที่ยวที่เจดีย์คุณสามารถเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่ชายหาด พร้อมกับลมที่พัดผ่านพื้นผิวของทะเลสาบ ร่มเงาของต้นไม้ และโขดหินบริเวณชายฝั่ง คุณจะได้สัมผัสกับความรู้สึกที่ดีในการชมธรรมชาติ  ตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น คุณยังสามารถไปภูเขาซะโลง (Za Lon) เมืองบานเม่า (Ban Mout) ซึ่งอยู่ในชายแดนของกะฉิ่น และสะกาย (Sagain) ที่นั่นมีโรงแรมดี ๆ มากมายในเมืองบานเม่า (Ban Mout) มีที่จอดรถสำหรับคนที่ต้องการไปปีนเขา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านคะโม (Kha Moe) ระหว่างเมืองบานเม่า (Ban Mout) และหมู่บ้านคะโม (Kha Moe) มีร้านอาหารและที่พักชื่อว่า “ลแว คาน โหล่ง” (Lwal Khan Lon) ซึ่งคน 5 คนสามารถพักร่วมกันได้สบาย ๆ และมีราคาเพียง 30,000 จั๊ตต่อห้องเท่านั้น

ภูเขาซะโลง (Za Lon)

เมื่อก่อนภูเขาแห่งนี้ถูกเรียกว่า “ภูเขาตะหลู่น” (Tha Lon) เชื่อกันว่าเป็นสถานที่แห่งบรรลุการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ตอนนี้มันถูกเรียกว่า “ภูเขาซะโลง” (Za Lon) มันออกเสียงได้ว่า “สั้น โลง” (Sant Lon) ในภาษาฉาน เมื่อลองถามชาวพื้นเมืองดูจึงได้รู้ว่า สาเหตุที่เรียกแบบนี้ เพราะมันมีลักษณะคล้ายกับรูปช้าง “ลแว สั้น โลง” (Lwal Sant Lone) เจดีย์บนภูเขาซะโลง (Za Lon) สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 492 ดังนั้น ตอนนี้จึงมีอายุ 900 ปีแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับภูเขานี้ คือคุณจะเห็นภูเขาเป็นสีดำก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เห็นภูเขาเป็นสีขาวหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น และภูเขาเป็นสีทองในช่วง 5 โมงเย็น และ 5โมงครึ่ง มันมีแสงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน คุณจำเป็นต้องเช็คสภาพอากาศก่อนที่จะไปที่นั่น เพราะเมื่อฝนตกถนนหนทางจะขรุขระเป็นอย่างมาก สำหรับทางกลับคุณสามารถไปกลับจากมิดจีนา หรือขึ้นรถบัสบานเม่า  - มัณฑะเลย์ (Ban Mout - Mandalay) ได้เลย

นั่นคือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับภาคเหนือของประเทศเมียนมา ผมขอแนะนำให้คุณจะไปเที่ยวที่มะนอ ซึ่งคุณจะสามารถสัมผัสข้อเท็จเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมียนมาได้เป็นอย่างดี

 

คุณชอบเนื้อหานี้หรือไม่?
หากคุณมีบัญชีของผู้ใช้ที่ทำให้เป็นปลาแมกเคอเรลคุณสามารถเพิ่มบุ๊กมาร์กลงใน mypage ของคุณได้

รีวิว


ซุดปร่าโบ่ง ที่ปกคลุมด้วยความรัก
0 / 5 (0 รีวิวจากผู้ใช้)
สิ่งที่คนพูด

แสดงความคิดเห็นจาก

สมาชิกเข้าสู่ระบบและปล่อยให้คะแนนของคุณ

หากต้องการแสดงความคิดเห็นโปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนสมาชิก

คุณมีบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo หรือไม่?

personLogin

รับบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo!

personลง ทะเบียน