ประเทศเมียนมามีความเสมอภาคทางเพศหรือเปล่า

2019-08-19edit Ye Naung

ขณะที่เดินทางท่องเที่ยวอยู่ในประเทศเมียนมาคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมผู้หญิงถึงไม่สามารถเข้าไปในสถานที่ทางศาสนาเช่นเจดีย์และรอยพระพุทธบาทได้คุณอาจจรู้สึกรำคาญใจในฐานะของนักเดินทางสไตล์ตะวันตกที่มาพร้อมกับแนวคิดแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยและให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานของความเป็นสากลรวมถึงความเท่าเทีทางเพศ


ในความเป็นจริงชาวเมียนมา มีความเป็นมิตร และยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะที่แห่งนี้ คือ แผ่นดินทอง ดังนั้น มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะตั้งใจกำหนดสิ่งต่าง ๆ ไว้เพื่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้เดินทาง แล้วถ้าอย่างนั้นมันเกิดจากอะไร

 

โดยทั่วไป สาเหตุที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปยังสถานที่ทางศาสนาได้นั้น มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความเชื่อทางศาสนา ที่ประเทศเมียนมาผู้ที่ดูแลรับผิดชอบอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทางศาสนา มักจะเป็นพระภิกษุ และผู้นับถือศรัทธาในชุมชน มากกว่าการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ



พระภิกษุและผู้นับถือศรัทธาเหล่านั้น ได้กำหนดและปฏิบัติตนในรูปแบบต่าง ๆ จนเป็นวัฒนธรรม นั่นคือ ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปในสถานที่ทางศาสนาบางแห่ง ซึ่งเป็นการสร้างบรรทัดฐานจากมุมมองของพวกเขาเอง จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย และสิ่งนี้ก็ไม่สามารถนำมาเป็นข้อสรุปว่าประเทศเมียนมาไม่มีความเสมอภาคทางเพศ



ก่อนยุคอาณานิคม ประเทศเมียนมายืนหยัดในฐานะของประเทศที่ที่มีความก้าวหน้า เรื่องการศึกษาหาความรู้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้หญิงมีโอกาสในการศึกษาเหมือนกับผู้ชายมาตั้งแต่สมัยโบราณ



มันคือ ระบบการศึกษาของโรงเรียนวัด ที่มีพระเป็นผู้รับหน้าที่ในการอบรมสั่งสอน การมีโรงเรียนในลักษณะนี้ส่งผลให้ประเทศเมียนมากลายเป็นประเทศที่ประชากรมีความรู้จำนวนมาก ในยุคอาณานิคมอังกฤษ เจ้าอาณานิคมต้องการแยกสถาบันทางศาสนาและรัฐออกจากกัน ต้องการให้เป็นเหมือนกับที่ทำกับอินเดีย แต่มันคือ ความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งไม่เคยมีโอกาสได้เดินทางมายังประเทศเมียนมาเลยจนกระทั่งศตวรรษที่ 18 ที่เข้ามาในฐานะของนักการทูต



ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือของ Alicia Turner ชื่อว่า "Saving Buddhism: the Impermanence of Religion in Colonial Burma" เมื่อกองทัพอังกฤษขับไล่พระเจ้าธีบอ (Thibaw the King) และผนวกเมียนมาตอนบนเข้ากับอินเดียในปี 1886 รวมถึงนำนโยบายแยกรัฐกับศาสนามาใช้ เหมือนที่ใช้กับอินเดีย แต่ในเมียนมาศาสนาและรัฐมีความสัมพันธ์กัน

เมียนมาในยุคโบราณ ผู้นำทางศาสนาสามารถควบคุมสั่งสอนกษัตริย์ได้ เพราะกษัตริย์เคยเป็นนักเรียนของพระและให้ความเคารพนับถือพระมาก

เมื่อต้องอธิบายเรื่องปัญหาในการเดินทางเข้าไปบริเวณเจดีย์โดยไม่ถอดรองเท้าแก่ชาวอังกฤษให้เข้าใจว่าวัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน และเพื่อให้คนเหล่านี้รู้ว่าการบริหารประเทศเมียนมาจะใช้นโยบายเดียวกับประเทศอื่นไม่ได้ และสิ่งนี้สามารถบอกได้เลยว่า นี่เป็นครั้งแรกก่อนยุคโลกาภิวัตน์ที่จะต้องทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

หมายความว่า ถ้ากลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของเมียนมาในยุคอาณานิคมจะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนว่า คนเมียนมาผู้ซึ่งมีความเป็นมิตรนั้น ให้ความสำคัญกับศาสนามากขนาดไหน นอกจากนี้คุณสามารถสังเกตได้ว่าชาวเมียนมาต่างบริจาคและทำบุญเป็นประจำและปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ ความเจริญก้าวหน้าของวรรณกรรม และวัฒนธรรมก็มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ฉะนั้น พระธรรมคำสอนและขนบธรรมเนียมประเพณีก็ย่อมมีการปะปนกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



คุณสามารถแยกความแตกต่างของประเพณี และคำสอนของพระพุทธเจ้าออกจากกันได้ ดังนั้น เหตุผลที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปในสถานที่ทางศาสนาบางแห่ง จึงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นแค่ประเพณีหรือวัฒนธรรมเท่านั้น อีกกรณีหนึ่ง คือ ผู้หญิงเมียนมาได้รับโอกาสต่าง ๆ เท่าเทียมกับผู้ชาย ทั้งในเรื่องการศึกษา การดูแลทางการแพทย์ สิทธิมนุษยชน และการรับรองยอมรับของสังคม ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในเมียนมา ถ้าคุณมาเรียนรู้ด้วยตัวเองที่เมียนมา ฉันคิดว่าอะไร ๆ จะชัดเจนมากกว่านี้

คุณชอบเนื้อหานี้หรือไม่?
หากคุณมีบัญชีของผู้ใช้ที่ทำให้เป็นปลาแมกเคอเรลคุณสามารถเพิ่มบุ๊กมาร์กลงใน mypage ของคุณได้

รีวิว


ประเทศเมียนมามีความเสมอภาคทางเพศหรือเปล่า
0 / 5 (0 รีวิวจากผู้ใช้)
สิ่งที่คนพูด

แสดงความคิดเห็นจาก

สมาชิกเข้าสู่ระบบและปล่อยให้คะแนนของคุณ

หากต้องการแสดงความคิดเห็นโปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนสมาชิก

คุณมีบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo หรือไม่?

personLogin

รับบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo!

personลง ทะเบียน