5 ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมวยคาดเชือกเมียนมา
2019-07-23edit Ye Naung
นี่คือมวยคาดเชือกแบบดั้งเดิมของเมียนมา เรียกว่า "แล็ก เว๊ะ" (Lethwei) ใช้วิธีการของศิลปะการต่อสู้แบบผสมคล้าย ๆ มวยปล้ำ และเน้นไปที่การต่อสู้แบบยืน ในโลกนี้นอกจาก MMA ที่เป็นศิลปะการต่อสู้แบบผสมแล้ว "แล็ก เว๊ะ" (Lethwei) การต่อสู้แบบดั้งเดิมของเมียนมาก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นกีฬาที่มีความรุนแรงมากที่สุด นอกจากนี้ มวยคาดเชือกแบบดั้งเดิมของเมียนมายังเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่รุนแรง เนื่องจากอนุญาตให้คู่แข่งโจมตีโดยใช้หัวของพวกเขาได้ เรียกว่าเป็นกีฬาที่รุนแรงมากที่สุดในเวทีโลก เพราะมีรูปแบบศิลปะการต่อสู้แบบผสม
นอกจากนี้ มวยคาดเชือกของเมียนมา ยังได้รับอนุญาตให้คู่ต่อสู่โจมตีด้วยศอก แบบที่เรียกว่า 12 to 6 o’clock elbow ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ใน MMA ซึ่งถือว่าเป็นกีฬาการต่อสู้ที่รุนแรงที่สุดในโลกอีกด้วย ในขณะที่ มวยไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล และชาวตะวันตกส่วนใหญ่มักคิดว่า "แล็ก เว๊ะ" (Lethwei) แบบดั้งเดิมของเมียนมาและมวยไทยมาจากรากเดียวกัน แต่มันเป็นเพียงความเข้าใจที่ผิดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียมักจะมีพื้นฐานในเรื่องของศิลปะการต่อสู้มานานนับพันปี และศิลปะการต่อสู้ส่วนใหญ่ของเอเชียนั้น มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ท่าทางการขี่ม้าของคาราเต้ที่เรียกว่า “Kiba Dachi” และศิลปะการต่อสู้สไตล์เอเชียอื่น ๆ อีกมากมาย มันเป็นลักษณะร่วมของศิลปะการป้องกันแบบตะวันออก
ถึงแม้แล็ก เว๊ะ (Lethwei) และมวยไทยจะมีความคล้ายคลึงกันในบางประการ แต่กีฬา 2 ประเภทนี้ไม่เหมือนกัน อาวุธโจมตีของมวยไทยมี 8 ชนิด แต่อาวุธโจมตีของแล็ก เว๊ะ (Lethwei) มี 9 ชนิด
ยิ่งไปกว่านั้น ศิลปะการต่อสู้ทั้งสองต่างมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน โดยแล็ก เว๊ะ (Lethwei) ของเมียนมามีมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 5 สมัยปแว จาว (Pwe Kyaung) และเป็นมรดกสืบทอดของชาวเมียนมาที่มีมาอย่างยาวนาน
แม้ทุกวันนี้ ทุกคนจะมองว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาเพื่อความบันเทิง แต่สำหรับวีรบุรุษของเมียนมาในอดีตต่างได้รับการสอนและฝึกฝนแล็ก เว๊ะ (Lethwei) มาเป็นอย่างดี เรียกว่าสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลาหลายศตวรรษ เคียงคู่มาพร้อมกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศ ตอนนี้ผมอยากจะนำเสนอ 5 ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแล็ก เว๊ะ (Lethwei) หรือมวยคาดเชือกเมียนมา
1. การชกมวยแบบไม่ใส่นวม
ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของเมียนมาอย่าง “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) มีต้นกำเนิดในช่วงต้นปี 1300 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นการชกมวยแบบไม่ใส่นวม มีความโดดเด่นในเรื่องการต่อสู้ในท่ายืน และการใช้ผ้าพันไว้ที่มือขณะต่อสู้
มวยคาดเชือกแบบดั้งเดิมของเมียนมาได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการต่อสู้ที่เต็มไปด้วยความดุดัน และเป็นกีฬาที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์หรือประชาชนทั่วไป โดยผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องต่อสู้บนลานดินอย่างเท่าเทียมกัน
2. อดีตนักมวยโอลิมปิก “จา บ้ะ เหย่ง” (Kyar Ba Nyein) ผู้ปรับปรุงมวยคาดเชือกแบบดั้งเดิมของเมียนมาให้ทันสมัยมากขึ้น
“แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ในวันนี้มีพื้นฐานมาจากกฎในการแข่งขันที่เข้มงวด ตั้งแต่ปี 1952 โดยอดีตนักมวยโอลิมปิก “จา บ้ะ เหย่ง” (Kyar Ba Nyein) ผู้ที่ปรับปรุงมวยคาดเชือกแบบดั้งเดิมของเมียนมาให้ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งเป็นผู้นำแนวคิดเกี่ยวกับร่างกติกาและการกำหนดพื้นที่ในการแข่งขันเหมือนกับสนามมวยด้วย
ในยุคแรก ๆ หนทางเดียวที่จะไปสู่ชัยชนะของการแข่งขัน “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) คือ การน็อกคู่ต่อสู้เท่านั้น ในการแข่งขันจึงมีทั้งการบีบคอ การกระทืบศีรษะ และการต่อย ถึงแม้มันจะเป็นการต่อสู้ที่น่าตื่นเต้น แต่มันก็เป็นกีฬาที่รุนแรงมาก ๆ ตามมาตรฐานของนานาชาติ
คุณจา บ้ะ เหย่ง (Kyar Ba Nyein) จึงต้องการให้ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) เป็นกีฬามวยที่ปลอดภัยมากกว่านี้ รวมทั้งอยากให้กีฬาชนิดนี้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ เขาจึงเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วทั้งประเทศ และเขาก็ได้เดินทางไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ยังคงมีการสอนและฝึกฝนมวยคาดเชือกโบราณอยู่ ภายหลังจา บ้ะ เหย่ง (Kyar Ba Nyein) ก็ได้เสนอแนวทางเกี่ยวกับการแข่งขัน “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ที่ทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งชักชวนผู้คนให้เข้าร่วมการแข่งขันจนทำให้เกิดเป็นกีฬาชนิดใหม่ขึ้น
วันนี้ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) เป็นที่ยอมรับในฐานะกีฬามากขึ้น เพราะมันมีกฎและข้อบังคับที่ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยของคู่แข่ง ตอนนี้ชัยชนะของการแข่ง “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) สามารถตัดสินได้โดยการมีกรรมการตามมาตรฐานของ World Lethwei Championship
3. ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9 ของแล็ก เว๊ะ
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาวุธในการต่อสู้ของ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ถูกเรียกว่า “ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9” (The art of nine limbs) ได้แก่ หมัด ศอก เข่า เท้า และหัว การต่อสู้ด้วยหัวทำให้แล็ก เว๊ะ มีความแตกต่างจากมวยไทยและมวยกัมพูชา ซึ่งถือว่าการใช้หัวในการต่อสู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎ
แต่จริง ๆ แล้วการต่อสู้โดยการใช้หัวของ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) คือ การใช้หน้าผากซึ่งเป็นหนึ่งในกระดูกที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ กฎของ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) สมัยใหม่ ก็ยังคงได้รับอนุญาตให้ใช้หัวในการต่อสู้ได้
4. ในปี 2001 นักมวยชาวอเมริกัน 3 คนแข่งขันกับนักกีฬาแล็ก เว๊ะ
DAVE Leduc © Lethweimaster/WikiCommons
มันเรื่องราวก่อนที่ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) จะก้าวสู่ระดับนานาชาติ ในปี 2001 นักมวยชาวอเมริกัน 3 คนแข่งขันกับนักกีฬาแล็ก เว๊ะ เป็นครั้งแรก นักมวย 3 คนนั้นมาจากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Shannon Ritch , Albert Ramirez และ Doug Evans พวกเขาได้ร่วมแข่งขันกับนักกีฬา “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ที่เก่งที่สุดของเมียนมา และแพ้ไปในยกแรก
ต่อมาในปี 2004 คราวที่นักกีฬาจากญี่ปุ่นต้องการจะลองต่อสู้ดูสักครั้ง โดยมีนักกีฬาชาวญี่ปุ่น 4 คนเข้าร่วมแข่งขันกับนักกีฬา “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) จึงทำให้ Akitoshi Tamura กลายเป็นชายชาวต่างชาติคนแรกที่เอาชนะนักกีฬา “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ได้ เมื่อเขาเอาชนะเอ่ หย่า โบ่ เส่ง (Aya Bo Sein) ได้ในยกที่สอง การแข่งขันในครั้งที่ 2 นี้ทำให้ “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติมากขึ้น
หลังจากนั้นไม่นานกีฬาชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ชาวเมียนมาเท่านั้นที่ฝึก “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) เพราะในช่วงเดือนเมษายน ปี 2017 David Leduc ชาวแคนาดา และ Adem Yilmaz ลูกครึ่งตุรกี – ออสเตรเลีย ได้มีการต่อสู้กันในการแข่งขัน Lethwei World Title ครั้งแรกที่จัดขึ้น ณ สถานที่ที่ชื่อเสียงระดับโลกของญี่ปุ่นอย่าง Korakuen Hall และทำให้ได้พบว่ามีนักกีฬาจากทั่วโลกมาร่วมแข่งขัน
5. นักกีฬา “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) กำลังสร้างชื่อให้กับตัวเองใน MMA
เนื่องจากกีฬาอย่าง “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) เป็นกีฬาที่มีความโดดเด่นเรื่องการต่อสู้ จึงเป็นรากฐานที่ดีให้กับศิลปะการต่อสู้แบบผสม วันนี้นักกีฬา MMA หลายคนมีการฝึกฝน “แล็ก เว๊ะ” (Lethwei) จากผู้เชี่ยวชาญและกำลังดำเนินอาชีพของพวกเขาด้วยความสำเร็จ ในบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ โพ ต่อ (Phoe Thaw) ซึ่งเป็นนักมวยวัย 32 ปี
รีวิว

แสดงความคิดเห็นจาก