อาหารว่างพม่าที่มาตั้งแต่สมัยพุกาม

2019-06-06edit MyoMinThu

ประวัติความเป็นมาของเมืองพุกามนั้นมีความยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก แต่ก็มีเรื่องราวบางอย่างตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการโต้เถียงอย่างร้อนแรง จึงมีผู้กล่าวว่า ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ของเมืองพุกาม ก็ต้องพูดถึงไม้เรียวหรือมีด ส่วนผมไม่อยากพูดถึงไม้เรียวหรือมีด แต่อยากพูดโดยวางไหน้ำตาลเมาข้างๆ ก็เลยเกิดการทะเลาะวิวาทที่เกิดจากการโต้เถียงกันขึ้น

ขณะนี้หลาย ๆ คนในพม่ากำลังมองหาวิธีการที่จะทำให้พุกามเข้าสู่การเป็นเมืองมรดกโลกขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เงื่อนไขของได้รับเสนอชื่อเพื่อเป็นมรดกโลกนั้น มี 2 เกณฑ์ คือ  มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยพุกามจะต้องอยู่ในกฎเกณฑ์นี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ และยังต้องพิสูจน์ว่า สิ่งนี้เป็นของจริงและมีความสมบูรณ์หรือไม่

ถ้าสอดคล้องและพุกามมีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกโลก สิ่งนี้ก็จะสร้างความสนใจจากนานาชาติเป็นอย่างมาก และจะไปสู่ความจำเป็นในการอนุรักษ์ การจัดการ และสามารถจัดหาเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูการอนุรักษ์เมืองพุกาม รวมทั้งการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ  โดยสามารถนำเสนอหลักฐานข้อมูลที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโบราณที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี

เล พยู (Lay Phyu) นักร้องที่ดังที่สุดในยุค ได้ร้องเพลงคือ “First Nation” ซึ่งกล่าวถึงพุกาม เพลงนี้ได้รับการแต่งโดย Myo Shwe Than เนื่องจากพวกเขาชื่นชอบในศิลปะของพุกาม พวกเขาเห็นว่า เมืองพุกามที่หลงเหลืออยู่เป็นมรดกที่น่าภูมิใจสำหรับเราทุกคน เราทุกคนควรปกป้องพุกาม ซึ่งเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ที่น่าภาคภูมิใจของโลก

มีบันทึกว่า ตั้งแต่สมัยพุกาม คนพม่าใช้น้ำตาลโตนดทำขนม Jaggery เด็ก ๆ ในพม่าต่างก็คุ้นเคยกับขนมชนิดนี้ แต่ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ ก็เลยไม่สามารถพูดหรือตัดสินว่ามันเป็นมรดกที่จับต้องได้ของอาณาจักรโบราณอย่างพุกาม อย่างไรก็ตามผมรู้จักน้ำตาลโตนดเพราะช่วงเวลาที่ผมเติบโตนั้น เป็นช่วงเวลาที่ขนมหายาก และไม่มีขนมสำเร็จรูปเหมือนสมัยนี้

ผมไม่แน่ใจว่าคนพม่าโบราณกลัวทะเลหรือกลัวมาลาเรีย พวกเขาจึงไม่เดินทางลงไปตอนล่างของประเทศ แต่เลือกที่จะสร้างพระราชวังบริเวณตอนบนของประเทศ ส่งผลให้เกิดอารยธรรมต่าง ๆ ขึ้นที่นี่เมื่อหลายพันปีก่อน ที่นี่ถูกเรียกว่า “พุกาม” และคนพม่าก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดีมาก คุณสามารถเห็นได้จากการนำเสื้อนอกของจีน และโสร่งของอินเดีย มาปรับเปลี่ยนและประดิษฐ์คิดค้นเป็นชุดพม่าที่เข้ากับสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมไปถึงการนำเอาต้นตาลโตนดที่มีอายุ 150 – 200 ปีมาประดิษฐ์ของใช้ได้มากมาย เช่น เสาบ้าน ภาชนะใส่อาหารวัว ทำให้เราได้เห็นและภาคภูมิใจในความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของคนพม่าโบราณ

ก่อนที่จะเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศพม่า ชาวพม่ายุคโบราณเคยเป็นทหารที่ชาญฉลาด ภายหลังพวกเขาได้มีการปรับเปลี่ยนตนเองและประกอบอาชีพเกษตรกร จนพวกเขาสามารถสร้างระบบชลประทานและทำการเกษตรที่เมืองเจ้าแส่ (Kyaukse) ยุ้งฉางแห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกิดขึ้น พวกเขายังมีการผลิตน้ำตาลโตนดอีกด้วย ใช่เลย นี่คือ สิ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ชาวพม่าในอดีตมอบให้กับคนรุ่นหลัง ไม่เพียงเป็นมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ แต่ยังเป็นขนมขบเคี้ยวที่เรียบง่ายและอร่อย สิ่งนี้ คือ การผลิต Jegger นั่นเอง

ต้นปาล์มที่ทอดยาวนั้น ไม่เพียงใช้สำหรับการผลิตน้ำตาลโตนดเท่านั้น แต่ยังมีการนำมาประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น การทำเสาบ้าน ภาชนะเพื่อใส่อาหารวัว  นอกจากนี้ใช้ใบของต้นโตนดทำพัดลม เสื่อ ตะกร้า หมวก หลังคาบ้าน สมัยก่อนหลังจากคนพม่ากินข้าวเสร็จแล้วก็จะกินน้ำตาลโตนดเป็นของหวาน เนื่องจากหลักการแพทย์แผนพม่าระบุว่า น้ำตาลโตนดช่วยย่อยอาหาร ผมจึงคิดว่าพวกเขากินน้ำตาลโตนดตามคำกล่าวที่ว่าอาหารเป็นยา ยาเป็นอาหาร

ผู้ที่ปีนต้นตาลโตนดมักใช้เครื่องมือหลายอย่าง เช่น มีดคม ๆ  หม้อดิน หรือ หม้อไม้ไผ่ บันได ที่เรียกว่า "หยิน – ด่าว" (Yin-daung) และ “กะไล” (kalaing) (แหวนเล็ก ๆ ที่ทำจากไม้ไผ่) ช่วงที่มีการจำหน่ายน้ำตาล คือ เดือนกุมภาพันธ์ งวงตาลก็ถือเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง

นำน้ำตาลจากกระบอกไม้ไผ่ เทลงไปหม้อดินขนาดใหญ่ หลังจากนั้นก็เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนแห้ง ทั้งนี้ สามารถนำเปลือกของผล เปลือกจาวตาลมาเป็นเชื้อเพลิง หลังจากเคี่ยวจนเหนียว ก็ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วค่อย ๆ ใช้มือปั้นน้ำตาลโตนดเป็นก้อนและนำไปผึ่งแดด

เพื่อจะได้รสชาติน้ำตาลโตนดที่หลากหลาย สามารถนำน้ำตาลโตนดมาผสมกับมะพร้าว พุทรา และงา นอกจากนี้ น้ำตาลโตนดยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการทำขนมพม่า เช่น ขนมหม้อแกง และมันไม่ได้เป็นเพียงอาหารว่าง เพราะยังใช้เป็นยาสำหรับบรรเทาอาการปวดท้องในเด็ก

 

ผมอยากจะบอกกับผู้อ่านทุกคนว่า คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับการฟังเพลง “First Country” และชิมรสชาติของขนมพม่าแบบดั้งเดิมอย่างน้ำตาลโตนด ที่ใช้เป็นยาทางการแพทย์ได้จริง ๆ เหมือนกับชาเชียว

คุณชอบเนื้อหานี้หรือไม่?
หากคุณมีบัญชีของผู้ใช้ที่ทำให้เป็นปลาแมกเคอเรลคุณสามารถเพิ่มบุ๊กมาร์กลงใน mypage ของคุณได้

รีวิว


อาหารว่างพม่าที่มาตั้งแต่สมัยพุกาม
0 / 5 (0 รีวิวจากผู้ใช้)
สิ่งที่คนพูด

แสดงความคิดเห็นจาก

สมาชิกเข้าสู่ระบบและปล่อยให้คะแนนของคุณ

หากต้องการแสดงความคิดเห็นโปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนสมาชิก

คุณมีบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo หรือไม่?

personLogin

รับบัญชีของผู้ใช้ MingalaGo!

personลง ทะเบียน